บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2017

การเพาะพันธุ์ปลากัดให้มีโอกาสรอดมากๆ

รูปภาพ
การเพาะปลากัด 1) ตัวผู้ต้องสมบูรณ์อายุไม่ต่ำกว่า 7 เดือน เวลาเทียบกับตัวเมียต้องทำหวอดและคึกเปรียบเสมือนเห็น ผู้หญิงนอนแก้ผ้า (เซ็นเซอร์) 2) ตัวเมียต้องสมบูรณ์อายุไม่ต่ำกว่า 7 เดือน มีไข่นำออกมาเห็นได้ชัดเจนควรหาตัวเมียที่มีผิวหนังดี สีสวยไม่ซีดเพราะปลาซีดมากๆมักจะทำให้ปลาคอกนั้นกัดไม่เก่ง 3) เทียบอย่างน้อย 7 วัน ระหว่างเทียบควรพาลปลาเช้าและเย็นวันละ 2 รอบๆละ 15 นาที (ปลาที่มีลาย ชะโตเยอะมากควรจ้องอย่างเดียวเพราะอาจทำให้ไข่ไหลได้) พาลปลา หมายถึง การเอาตัวผู้ตัวเมีย มาอยู่ด้วยให้ไล่กันประมาณ 15 นาที 4) หากาละมังเล็กๆ ถังสี หรืออ่างดินเผาใบเล็กได้ยิ่งดี หรือถังพลาสติกใส่ใบหูกวางแห้ง 1 ใบๆตองแห้ง ฉีกมาหน่อย 1 ใบ เน้น ฟางข้าวแห้งใส่เข้าไปไม่ต้องมากไว้ให้ปลาที่เกิดมาเกาะ และยังเป็นการให้ลูก ไรออกลูกหลานได้เร็วขึ้นใส่เกลือลงไปครึ่งช้อนโต๊ะ ใบมะยมหรือผักบุ้ง 1 ใบ เอาแต่ใบนะครับ น้ำประมาณ 4 นิ้ว 5) เอาปลาตัวผู้ตัวเมียลงเพาะใส่ลูกไรครึ่งช้อนโต๊ะปิดฝาให้เหลือรูนิดเดียวห้าม รบกวนเด็ดขาด เน้นย้ำห้ามรบกวน วางไว้ที่สงบห้ามมีเสียงหรือการกระแทกเด็ดขาด 6) ผ่านไป 1 คืน เห็นไข่

ชนิดของปลากัด2060

รูปภาพ
ปลากัดชนิดต่างๆ ST  = Singletail  ปลากัดหางเดี่ยว เป็นปลาที่เราพบเห็นกันทั่วไปทั้งในพันธุ์หางสั้นและหางยาว DT  = Doubletail  ปลากัดหางคู่/หางสองแฉก ลักษณะที่ดีคือกระโดงและชายน้ำสมมาตรกัน ครีบหางถัดจากโคนหางออกมาแบ่งออกเป็น 2  ส่วนที่เท่าๆกัน โดยส่วนใหญ่ปลาประเภทนี้จะลำตัวสั้นและอ้วนกว่าปลากัดหางเดี่ยวเล็กน้อย และสามารถพบได้ในปลากัดแทบทุกประเภทเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นในพันธุ์หางสั้นหรือหางยาวตัวอย่างเช่น DTPK, DTHMPK, DTCT, DTHM ( เรียกอีกอย่างว่า   fullmoon) PK  = Plakat  ปลากัดครีบสั้นพันธุ์ดั้งเดิม หรือที่เรียกกันติดปากว่าปลากัดหม้อ VT  = Veiltail  ปลากัดหางพู่กัน/ปลากัดจีน เป็นปลากัดพันธุ์หางยาวรุ่นแรกสุดก่อนที่จะพัฒนาเป็นปลากัดหางยาวรูปแบบ ต่างๆในปัจจุบัน HM  = Halfmoon  ปลากัดพันธุ์หางยาวก้านหางแผ่เต็มที่กาง  180  องศา เป็นครึ่งวงพระจันทร์ ถ้าน้อยกว่า   180 องศาก็จะมีชื่อเรียกดังนี้ D  = Delta [90-120  องศา] SD  = Superdelta [120-179  องศา] แต่ถ้าเกิน   180  องศาก็จะเป็น oHM  = over Halfmoon [>180  องศา]

เลี้ยงปลากัดให้สวย

รูปภาพ
เลี้ยงปลากัดให้สวยงาม        สำหรับ ปลากัดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ไม่ต้องใช้สถานที่ขว้างขวาง  สามารถเลี้ยงในโหลหรือเหลี่ยมเล็กได้  สำหรับวันนี้ ผมจะขอแนะนำวิธีการเลี้ยงปลากัดให้สวยงามและอยู่นานตามวิธีของผม  ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ  ซึ่งไม่ว่าคุณจะเลี้ยงปลากัดจำนวนมากหรือจำนวนน้อยก็ควรปฏิบัติโดยเฉพาะฤดู ร้อนที่มาถึง               ปลากัดจะมีปัญหาในเรื่องครีบหางห่อเหี่ยว ปลากัดไม่ชอบอากาศร้อนหรือเย็นเกินไป  เพราะฉะนั้นคุณควรนำปลากัดของคุณไว้ในที่อุณหภูมิที่เหมาะสม  เช่นเอาไปไว้ในที่ร่มเย็นหรือควรไว้ใกล้กับอ่างน้ำหรือกระถางต้นไม้สถานที่ ที่อากาศถ่ายเทได้ดี    ต่อมาก็ขอพูดถึง เรื่องของน้ำที่เลี้ยงปลากัด ซึ่งควรเปลี่ยนอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้งหรือสองครั้ง และควรใส่เกลือลงไปด้วยเล็กน้อยทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนน้ำใหม่ เพราะเกลือจะทำให้ปลากระชุ่มกระชวยไม่ห่อเหี่ยว  ท่านใดที่มีปลาน้อยคงไม่ยาก แต่สำหรับท่านที่เลี้ยงปลาไว้จำนวนมากก็เหนื่อยหน่อยนะครับ  ทำอย่างสม่ำเสมอเท่านี้ปลากัดของท่านก็สวยอยู่นาน  ในกรณีที่ท่านไม่อยากถ่ายน้ำบ่อย  ก็ให้ใส่ใบหูกวางที่แห้งและกรอบลงไปในน้ำเป็นสีเหลืองเข้มหน่อยจะได้อ