ชนิดของปลากัด2060

ปลากัดชนิดต่างๆ

ST = Singletail ปลากัดหางเดี่ยว
เป็นปลาที่เราพบเห็นกันทั่วไปทั้งในพันธุ์หางสั้นและหางยาว














DT = Doubletail ปลากัดหางคู่/หางสองแฉก
ลักษณะที่ดีคือกระโดงและชายน้ำสมมาตรกัน
ครีบหางถัดจากโคนหางออกมาแบ่งออกเป็นส่วนที่เท่าๆกัน
โดยส่วนใหญ่ปลาประเภทนี้จะลำตัวสั้นและอ้วนกว่าปลากัดหางเดี่ยวเล็กน้อย
และสามารถพบได้ในปลากัดแทบทุกประเภทเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็นในพันธุ์หางสั้นหรือหางยาวตัวอย่างเช่น
DTPK, DTHMPK, DTCT, DTHM (
เรียกอีกอย่างว่า fullmoon)


PK = Plakat ปลากัดครีบสั้นพันธุ์ดั้งเดิม
หรือที่เรียกกันติดปากว่าปลากัดหม้อ


VT = Veiltail 
ปลากัดหางพู่กัน/ปลากัดจีน
เป็นปลากัดพันธุ์หางยาวรุ่นแรกสุดก่อนที่จะพัฒนาเป็นปลากัดหางยาวรูปแบบต่างๆในปัจจุบัน
HM = Halfmoon ปลากัดพันธุ์หางยาวก้านหางแผ่เต็มที่กาง 180 องศา เป็นครึ่งวงพระจันทร์
ถ้าน้อยกว่า 180องศาก็จะมีชื่อเรียกดังนี้

D = Delta [90-120 
องศา]
SD = Superdelta [120-179 
องศา]
แต่ถ้าเกิน 180 องศาก็จะเป็น
oHM = over Halfmoon [>180 
องศา]
CT = Crowntail 
ปลากัดหางหนาม/หางมงกุฎ

เป็นปลากัดพันธุ์หางยาวอีกประเภทซึ่งพัฒนาได้หลังจากHM ลักษณะของ CT สามารถแบ่งย่อยได้อีกเช่น
SR (SingleRay), DR (Double Ray), TR (Triple Ray), DDR (Double Double Ray), CR (CrossRay), RR (Random Ray)
ลักษณะปลา Crowntailที่ดี
ก้านหางควรแทงออกไปนอกครีบไม่น้อยกว่า 33-50% ของพื้นที่ครีบ** (1 ใน ถึง ใน 2) ถ้าน้อยกว่านั้นจะมีชื่อเรียกว่า
Combtail
ซึ่งเป็นลักษณะที่ด้อยลงมา
** 
จริงๆแล้วก้านหางไม่ได้แทงออกไป
แต่เป็นส่วนของครีบระหว่างก้านหางแต่ละอันต่างหากที่ลดขนาดลงมา
หลังจากมีปลากัดหางสั้น ปลากัดหางยาวทั้งหางเดี่ยว หางคู่ สับสายกันไปมา
หลังๆก็เลยมีการพัฒนาปลาที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปอีกหลายแบบ
ซึ่งบางประเภทก็กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันได้แก่
HMPK
 = Halfmoon Plakat หม้อฮาล์ฟ พัฒนามาจาก HM+PK เป็นปลากัดหางสั้นแบบ PK แต่ก้านหางกาง 180 องศาแบบ HM

CTPK = Crowntail Plakat 
ลักษณะเดียวกับHMPK แต่เป็น CT+PK เป็นปลากัดหางสั้นแบบ PK แต่มีหางเป็นหยักๆแบบ CT
CTHM = Halfsun 
มาจาก CT+HM หรือใช้เรียก Crowntail ที่หางกาง 180 องศาแบบ Halfmoon ก็ได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การเพาะพันธุ์ปลากัดให้มีโอกาสรอดมากๆ

เลี้ยงปลากัดให้สวย